ข้อมูลพื้นฐาน

ชื่อมหาวิทยาลัย

ภาษาไทย :มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย อักษรย่อ คือ มมร

ภาษาอังกฤษ :Mahamakut Buddhist University อักษรย่อ คือ MBU

ศาสนสุภาษิตประจำมหาวิทยาลัย “วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุเส” ผู้สมบูรณ์ด้วยความรู้และความประพฤติ เป็นผู้ประเสริฐในหมู่เทพและมนุษย์

สีประจำมหาวิทยาลัย สีส้ม หมายถึง สีประจำพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งตรงกับวันพฤหัสบดี อันเป็นวันพระราชสมภพ

ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย ต้นโพธิ์ ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 

คติพจน์ประจำตัวนักศึกษา ระเบียบ สามัคคี บำเพ็ญประโยชน์

ตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย

ตราสัญลักษณ์
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

พระมหามงกุฏ  : หมายถึง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ พระผู้ทรงเป็นที่มาแห่งนาม “มหามกุฏราชวิทยาลัย”             

พระเกี้ยวประดิษฐานแบบหมอนรอง : หมายถึง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ซึ่งทรงเป็นผู้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งมหามกุฏราชวิทยาลัย และพระราชทานทรัพย์บำรุงปีละ ๖๐ ชั่ง

หนังสือ : หมายถึง คัมภีร์และตำราทางพระพุทธศาสนา โดยที่มหามกุฏราชวิทยาลัยจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นแหล่งผลิตคัมภีร์และตำราทางพระพุทธศานา สำหรับส่งเสริมการศึกษาและเผยแผ่พระพุทธศาสนา              

ปากกาปากไก่ ดินสอ และม้วนกระดาษ : หมายถึง อุปกรณ์ในการศึกษาเล่าเรียน ตลอดถึงอุปกรณ์ในการผลิตคัมภีร์และตำราทางพระพุทธศาสนา เพราะมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ทำหน้าที่เป็นทั้งสถานศึกษาและแหล่งผลิตตำราทางพระพุทธศาสนา            

ช่อดอกไม้แย้มกลีบ ในทางการศึกษา : หมายถึง ความเบ่งบานแห่งสติปัญญาและวิทยาความรู้ แต่ในทางพระศาสนาหมายถึง กิตติศัพท์ กิตติคุณ ที่ฟุ้งขจรไปดุจกลิ่นแห่งดอกไม้โดยมีความหมายรวม คือความเจริญรุ่งเรืองและเกียรติยศ อิสริยยศ บริวารยศ            

พานรองรับหนังสือหรือคัมภีร์ : หมายถึง มหามกุฏราชวิทยาลัยเป็นสถาบันเพื่อความมั่นคงและแพร่หลายของพระพุทธศาสนา ทั้งในด้านการศึกษาและการเผยแผ่            

วงรัศมี : หมายถึง ความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาที่บังเกิดขึ้นจากกิจกรรมของมหามกุฏราชวิทยาลัยภายใต้พระบรมราชูปถัมภ์ของพระมหากษัตริย์ไทย            

มหามกุฏราชวิทยาลัย : หมายถึง สถาบันการศึกษาระดับปริญญาตรี , โท , เอก ปัจจุบัน คือ “มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย”

เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Objectives / Targets)

  1. เป้าหมายเชิงปริมาณ (quantity)
    • นักศึกษาระดับปริญญาตรีเพิ่มขึ้นจากเดิม ร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 15 / ปี
    • นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 10/ปี
    • สัดส่วนจำนวนนักศึกษาระดับปริญญาตรีต่อระดับบัณฑิตศึกษาเท่ากับ 90 ต่อ 10 ในปีการศึกษา 2553
    • สัดส่วนจำนวนอาจารย์ต่อนักศึกษาเฉลี่ยเท่ากับ 1 ต่อ 25 ในปีการศึกษา 2553
    • ผลการเรียนของนักศึกษาที่รับเข้าศึกษาในแต่ละรุ่นไม่ต่ำกว่า 2.00 สำหรับระดับปริญญาตรี ไม่ต่ำกว่า 3.00 สำหรับระดับปริญญาโท และไม่ต่ำกว่า 3.25 สำหรับระดับปริญญาเอก
    • บัณฑิตได้งานทำหรือศึกษาต่อภายในระยะเวลา 3 เดือน หลังจากจบการศึกษาร้อยละ 80
    • นายจ้าง / ผู้ประกอบการ / ผู้ใช้บัณฑิต มีความพึงพอใจในระดับมาก – มากที่สุด ร้อยละ 80-100
    • จำนวนบทความจากวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกและโทที่ตีพิมพ์ในวารสารที่มีผู้ประเมินอิสระต่อจำนวนวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกและโท ร้อยละ 10 – 20 ของวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกและโททั้งหมด / ปี
    • อัตราส่วนจำนวนกิจกรรม / โครงการของงานกิจกรรมนักศึกษาทั้งหมด เท่ากับ 1 : 60-50
    • จำนวนอาจารย์ประจำทุกระดับที่มีวุฒิปริญญาเอกร้อยละ 15 – 30
    • สัดส่วนอาจารย์ประจำทุกระดับที่มีวุฒิปริญญาเอกต่อปริญญาโทเท่ากับ 30 – 70 สำหรับการสอนระดับปริญญาตรี และ 50 – 50 สำหรับบัณฑิตศึกษา
    • สัดส่วนตำแหน่งทางวิชาการ (ศ + รศ. + ผศ.) : อาจารย์ เท่ากับ 30 ต่อ 70 สำหรับการสอนระดับปริญญาตรี และ 50 ต่อ 50 สำหรับระดับบัณฑิตศึกษา
    • อัตราส่วนจำนวนคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเรียนการสอนต่อจำนวนนักศึกษา เท่ากับ 1: 20 – 10
    • จำนวนโครงการวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ 2 – 5 โครงการ / ปี
    • สัดส่วนจำนวนบทความวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่หรืองานสร้างสรรค์ประเภทตำรา หนังสือ หรือ เอกสารทางวิชาการต่อจำนวนอาจารย์ประจำทุกระดับเท่ากับ 1 เรื่อง : 10 รูป/คน
    • สัดส่วนจำนวนงานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อจำนวนอาจารย์ประจำทุกระดับเท่ากับ 1 เรื่อง ต่อ 20 รูป/คน
    • จำนวนเงินงบประมาณที่จัดสรรเพื่อการวิจัยในแต่ละปี ร้อยละ 5 ของงบดำเนินการทั้งหมด
    • จำนวนกิจกรรม / โครงการที่ให้บริการแก่สังคมหรือชุมชน 5 -10 กิจกรรม/โครงการต่อปี
    • จำนวนการได้รับนิมนต์/รับเชิญ ให้ไปเผยแผ่ธรรมะในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การแสดงธรรม การแสดงปาฐกถา การบรรยาย การสอน ฯลฯ ภายนอกมหาวิทยาลัยต่ออาจารย์ประจำทุกระดับ เท่ากับ 1 ครั้ง ต่อ 20 รูป/คน ในแต่ละปีการศึกษา
    • จำนวนกิจกรรมที่จัดร่วมกับชุมชนในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 5-7 กิจกรรม/ปี
    • จำนวนการจัดกิจกรรม/โครงการประกันคุณภาพภายในเกี่ยวกับระบบและกลไก 2 – 5 ครั้ง/ปี
    • จำนวนหน่วยงานย่อยที่ร่วมดำเนินงานประกันคุณภาพ ผ่านเกณฑ์ประเมินภายในร้อยละ 70 – 80
  2. เป้าหมายเชิงปริมาณ (quantity)
    • นักศึกษาระดับปริญญาตรีเพิ่มขึ้นจากเดิม ร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 15 / ปี
    • นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 10/ปี
    • สัดส่วนจำนวนนักศึกษาระดับปริญญาตรีต่อระดับบัณฑิตศึกษาเท่ากับ 90 ต่อ 10 ในปีการศึกษา 2553
    • สัดส่วนจำนวนอาจารย์ต่อนักศึกษาเฉลี่ยเท่ากับ 1 ต่อ 25 ในปีการศึกษา 2553
    • ผลการเรียนของนักศึกษาที่รับเข้าศึกษาในแต่ละรุ่นไม่ต่ำกว่า 2.00 สำหรับระดับปริญญาตรี ไม่ต่ำกว่า 3.00 สำหรับระดับปริญญาโท และไม่ต่ำกว่า 3.25 สำหรับระดับปริญญาเอก
    • บัณฑิตได้งานทำหรือศึกษาต่อภายในระยะเวลา 3 เดือน หลังจากจบการศึกษาร้อยละ 80
    • นายจ้าง / ผู้ประกอบการ / ผู้ใช้บัณฑิต มีความพึงพอใจในระดับมาก – มากที่สุด ร้อยละ 80-100
    • จำนวนบทความจากวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกและโทที่ตีพิมพ์ในวารสารที่มีผู้ประเมินอิสระต่อจำนวนวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกและโท ร้อยละ 10 – 20 ของวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกและโททั้งหมด / ปี
    • อัตราส่วนจำนวนกิจกรรม / โครงการของงานกิจกรรมนักศึกษาทั้งหมด เท่ากับ 1 : 60-50
    • จำนวนอาจารย์ประจำทุกระดับที่มีวุฒิปริญญาเอกร้อยละ 15 – 30
    • สัดส่วนอาจารย์ประจำทุกระดับที่มีวุฒิปริญญาเอกต่อปริญญาโทเท่ากับ 30 – 70 สำหรับการสอนระดับปริญญาตรี และ 50 – 50 สำหรับบัณฑิตศึกษา
    • สัดส่วนตำแหน่งทางวิชาการ (ศ + รศ. + ผศ.) : อาจารย์ เท่ากับ 30 ต่อ 70 สำหรับการสอนระดับปริญญาตรี และ 50 ต่อ 50 สำหรับระดับบัณฑิตศึกษา
    • อัตราส่วนจำนวนคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเรียนการสอนต่อจำนวนนักศึกษา เท่ากับ 1: 20 – 10
    • จำนวนโครงการวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ 2 – 5 โครงการ / ปี
    • สัดส่วนจำนวนบทความวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่หรืองานสร้างสรรค์ประเภทตำรา หนังสือ หรือ เอกสารทางวิชาการต่อจำนวนอาจารย์ประจำทุกระดับเท่ากับ 1 เรื่อง : 10 รูป/คน
    • สัดส่วนจำนวนงานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อจำนวนอาจารย์ประจำทุกระดับเท่ากับ 1 เรื่อง ต่อ 20 รูป/คน
    • จำนวนเงินงบประมาณที่จัดสรรเพื่อการวิจัยในแต่ละปี ร้อยละ 5 ของงบดำเนินการทั้งหมด
    • จำนวนกิจกรรม / โครงการที่ให้บริการแก่สังคมหรือชุมชน 5 -10 กิจกรรม/โครงการต่อปี
    • จำนวนการได้รับนิมนต์/รับเชิญ ให้ไปเผยแผ่ธรรมะในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การแสดงธรรม การแสดงปาฐกถา การบรรยาย การสอน ฯลฯ ภายนอกมหาวิทยาลัยต่ออาจารย์ประจำทุกระดับ เท่ากับ 1 ครั้ง ต่อ 20 รูป/คน ในแต่ละปีการศึกษา
    • จำนวนกิจกรรมที่จัดร่วมกับชุมชนในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 5-7 กิจกรรม/ปี
    • จำนวนการจัดกิจกรรม/โครงการประกันคุณภาพภายในเกี่ยวกับระบบและกลไก 2 – 5 ครั้ง/ปี
    • จำนวนหน่วยงานย่อยที่ร่วมดำเนินงานประกันคุณภาพ ผ่านเกณฑ์ประเมินภายในร้อยละ 70 – 802
  3. เป้าหมายเชิงคุณภาพ (quality)
    • มีการพัฒนาการเรียนการสอน โดยใช้ระบบการประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัยเป็นเครื่องมือ เพื่อให้ได้บัณฑิตที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ในปรัชญา
    • มีการจัดหลักสูตรที่เน้นทางด้านพระพุทธศาสนาเถรวาท และเน้นภาษาบาลีเชิงลึกเพื่อการศึกษาวิจัยทางด้านพระพุทธศาสนา
    • มีการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และส่งเสริมการสร้างประสบการณ์จริง
    • มีการเน้นพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ทางด้านการใช้ภาษาอังกฤษและสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและศิลปวัฒนธรรมของชาติ
    • การเรียนการสอนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ รวมถึงรูปแบบปกติ(ระบบเข้าห้องเรียน) การศึกษาทางไกลและรูปแบบอื่นที่เปิดโอกาสทางการศึกษาแก่มวลชน ให้สามารถเข้าถึงได้ (Accessibility)
    • เป็นการให้บริการแก่มวลชน รวมตลอดถึงผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษาและสามารถตอบสนองความต้องการของสังคม (ไม่เพียงแต่ตลาดแรงงาน)
    • การมีความเป็นเลิศทางวิชาการพระพุทธศาสนาเถรวาทในระดับชาติและนานาชาติ
    • สภามหาวิทยาลัย สภาวิชาการ คณะกรรมการบริหารงานบุคคล คณะกรรมการการเงินและทรัพย์สิน คณะกรรมการวิทยาเขต ฯลฯ จะต้องให้ทั้งบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้อง (Stakeholders) และส่วนต่าง ๆ ของประชาคมมหาวิทยาลัยมีส่วนร่วมตัดสินใจอนาคตของมหาวิทยาลัย
    • การบริหารจัดการเป็นแบบเครือข่าย (Networking) ร่วมมือประสานกับมหาวิทยาลัยและสถาบันต่าง ๆ ทั้งภายในและต่างประเทศ ขณะเดียวกันมุ่งสร้างพันธมิตร และระดมทรัพยากรจากภายนอก (Outsourcing)
    • คำนึงถึงความคุ้มค่า ประสิทธิภาพ และสัมฤทธิผลในการบริหารจัดการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลผลิตและผลลัพธ์

ยุทธศาสตร์ / กลยุทธ์ (Strategics)

  1. ด้านการผลิตบัณฑิต
    • ปรับกระบวนการผลิตบัณฑิตโดยใช้ระบบและกลไกประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัยเป็นเครื่องมือ
    • ทบทวนการจัดการเรียนการสอน วิธีการเรียนการสอน บรรณสาร เทคโนโลยีการศึกษา อุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวก รวมทั้งการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้
    • จัดกระบวนการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่ต้องการให้เกิดการปฏิรูป กล่าวคือ กระบวนการเรียนการสอนตามหลักสูตรและคำนึงถึงความแตกต่างเฉพาะบุคคลโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เช่น การจัดให้มีจำนวนหน่วยกิต/ชั่วโมงเรียนหรือรายวิชาในภาคปฏิบัติ การจัดให้มีจำนวนหน่วยกิต/ชั่วโมงเรียนหรือรายวิชาในภาคสนาม การเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของเนื้อหาหรือรายวิชาที่เปิดสอน การเปิดโอกาสให้นักศึกษาใช้ห้องคอมพิวเตอร์/ห้องสมุดต่อวัน ฯลฯ
    • จัดการเรียนการสอน โดยให้ความสำคัญกับภาษาบาลีในฐานะภาษาที่ใช้จารึกพระพุทธวจนะเพิ่มมากขึ้น เพิ่มจำนวนหน่วยกิต เพิ่มชั่วโมงเรียน
    • เร่งขยายหลักสูตรสาขาวิชาภาษาบาลีและพระพุทธศาสนาในระดับสูง คือ ระดับมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต เพื่อการวิจัยพระพุทธศาสนาในเชิงลึก ซึ่งจะทำให้มหาวิทยาลัยมีโอกาสพัฒนาไปสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการพระพุทธศาสนาตามปรัชญาของมหาวิทยาลัยได้
    • เร่งพัฒนาระบบฐานข้อมูลและการให้บริการด้านต่าง ๆ เช่น ด้านงานทะเบียน งานวัดประเมินผล การสืบค้นข้อมูลวิจัย เป็นต้น โดยเพิ่มศักยภาพซอฟแวร์คอมพิวเตอร์ให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และได้อย่างกว้างขวาง เป็นระบบเครือข่ายข้อมูลทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค สามารถสืบค้นและเชื่อมโยงกันได้
    • เร่งพัฒนาบุคลากรด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย ให้สามารถใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เทคโนโลยีสารสนเทศ สื่อผสม สื่อการสอนทางไกล ฯลฯ ตลอดจนการใช้บุคลากรจากภายนอกที่มีคุณภาพ ( Outsourcing)
    • เร่งพัฒนาอาจารย์ให้มีคุณวุฒิและตำแหน่งทางวิชาการเพิ่มขึ้น
  2. ด้านการบริการวิชาการพระพุทธศาสนาแก่สังคม
    • เร่งขยายการบริการวิชาการพระพุทธศาสนาแก่ชุมชน และท้องถิ่นแบบเชิงรุกให้กว้างขวาง
    • ให้การสนับสนุน หรือร่วมมือกับคณะสงฆ์ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กร / ชุมชน และครอบครัว ในด้านวิทยากร และวิชาการทางพระพุทธศาสนาเพื่อแก้และป้องกันปัญหาทางสังคม เช่น โรคติดต่อร้ายแรง และสารเสพย์ติดให้โทษ เป็นต้น
    • จัดโครงการประชุม / อบรม / สัมมนา ร่วมกับคณะสงฆ์ เพื่อสร้างความเข้าใจในการพัฒนาสังคมร่วมกัน
    • เน้นบทบาทในการแก้ปัญหาด้านจิตใจแก่สังคม เช่น การให้คำเตือน แนวคิด และข้อเสนอแนะ เป็นต้น เพื่อลดปัญหาทางสังคมอื่น ๆ ที่จะตามมา
    • จัดประชุมสัมมนาให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไป
    • เร่งรัดการใช้ ICT เพื่อช่วยเสริมสร้างสังคมฐานความรู้ให้หลากหลาย
    • ใช้ ICT เพื่อขยายฐานความรู้ด้านพระพุทธศาสนาเถรวาทสู่สังคมนานาชาติ
  3. ด้านการวิจัย
    • จัดระบบวิจัยที่เน้นการวิจัยทางด้านพระพุทธศาสนาในลักษณะโครงการร่วมระหว่างหน่วยงานมหาวิทยาลัย รวมทั้งองค์กรต่าง ๆ ภายนอกมหาวิทยาลัย
    • พิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยในวงกว้าง โดยเฉพาะในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติ
    • ส่งเสริมให้มีการนำผลงานวิจัยไปใช้เพื่อช่วยพัฒนาสถาบัน สังคม และหรือ ประเทศชาติ
    • สนับสนุนให้วิทยาเขตต่าง ๆ และศูนย์การศึกษาของมหาวิทยาลัย ประสานงานกับสถาบันการศึกษา และผู้ทรงคุณวุฒิด้านภาษาและพระพุทธศาสนาเพื่อศึกษาวิจัยคัมภีร์ที่มีอยู่ในท้องถิ่น
    • ให้วิทยาเขตและศูนย์การศึกษาต่าง ๆ เน้นเสนอโครงการวิจัยที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาด้านวัตถุโบราณในท้องถิ่น ประเภทศิลาจารึก คัมภีร์ใบลาน สมุดไทย เป็นต้น
  4. ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
    • รณรงค์ให้ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น และพระสังฆาธิการมีความรู้ความเข้าใจในศิลปวัฒนธรรมของชุมชนและท้องถิ่น
    • ประสานความร่วมมือกับคณะสงฆ์หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านศิลปวัฒนธรรมโดยจัดหลักสูตรระยะสั้น และพัฒนาระบบการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม และการอนุรักษ์ฟื้นฟูแก่ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่นและพระสังฆาธิการ
    • สนับสนุนและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ฟื้นฟูประเพณีพื้นบ้าน กีฬาพื้นบ้าน และภูมิปัญญาท้องถิ่น
    • แนะนำให้ความรู้แก่ชุมชนเกี่ยวกับวัฒนธรรมที่ไม่เหมาะสม การคัดสรรและการประยุกต์วัฒนธรรมจากภายนอกที่จำเป็นต้องยอมรับ
  5. ด้านการบริหารจัดการ
    • ปรับโครงสร้าง ปรับรื้อระบบและกลไกการบริหารงาน และปรับกระบวนการบริหารจัดการ ให้มีความสะดวก มีประสิทธิภาพ และมีความรวดเร็ว
    • ปรับปรุงระเบียบและข้อบังคับ การบริหารงานที่เหมาะสม เช่น การบริหารงบประมาณ การบริหารบุคลากร การบริหารวิชาการ ระบบตรวจสอบภายในและอาคารสถานที่ที่ยังไม่เอื้ออำนวยต่อการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบต่าง ๆ อย่างเหมาะสม
    • เร่งพัฒนาด้านการบริหารจัดการโดยเฉพาะการบริหารการเงิน ที่เป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่ามหาวิทยาลัยมีความจำเป็นจะต้องพิจารณาทบทวนโดยเทียบเคียงกับสถาบันอุดมศึกษาของคฤหัสถ์ที่บริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ และควรต้องมี “มืออาชีพ”
    • เร่งพัฒนาวิธีประกันมาตรฐานการศึกษาระหว่างส่วนกลางกับวิทยาเขตและระหว่างวิทยาเขตกับศูนย์การศึกษา
    • ให้ผู้แทนจากวิทยาเขตเป็นกรรมการหรือมีส่วนร่วมในการจัดสรรงบประมาณประจำปี
    • บริหารจัดการโดยยึดแผนยุทธศาสตร์ / แผนบริหารจัดการระยะ กลางของสถาบัน เพื่อควบคุมการบริหารจัดการให้คุ้มทุนและมีประสิทธิภาพ
    • หามาตรการลดปัญหาเรื่องการประสานงานหรือการสื่อสารระหว่างส่วนกลางกับวิทยาเขตและระหว่างวิทยาเขตด้วยกัน
    • พัฒนาและควบคุมสัดส่วนอาจารย์ประจำ(รวมอาจารย์พิเศษและพิเศษประจำ)ต่อนักศึกษาให้ได้เท่ากับ 1 ต่อ 25 (ปัจจุบันประมาณ 1 : 10 ) ภายในปี 2553
    • จัดลำดับความสำคัญของพันธกิจของมหาวิทยาลัย คือ 1. การผลิตบัณฑิต 2. การบริการวิชาการทางพระพุทธศาสนาแก่สังคม 3. การวิจัย 4. การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และจัดสรรงบประมาณตามลำดับความสำคัญของพันธกิจดังกล่าว
    • เร่งนำผลการประเมินทั้งจากภายในและภายนอกมาใช้ในการบริหารจัดการและการจัดสรรงบประมาณ เพื่อสร้างกระบวนการพัฒนาที่เป็นธรรมและยกระดับคุณภาพของมหาวิทยาลัยสู่ระดับมาตรฐานสาก
1,085 Views