beylikdüzü escort seks hikayesi beylikdüzü escort beylikdüzü escort antalya escort beylikdüzü escort esenyurt escort avcılar escort istanbul escort antayla escort beykent escort beylikdüzü escort beylikdüzü escort beylikdüzü escort beylikdüzü escort mersin escort porno seyret porno seyret ข้อมูลพื้นฐาน – กองบริหารทรัพยากรบุคคล

ข้อมูลพื้นฐาน

ชื่อมหาวิทยาลัย

ภาษาไทย :มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย อักษรย่อ คือ มมร

ภาษาอังกฤษ :Mahamakut Buddhist University อักษรย่อ คือ MBU

ศาสนสุภาษิตประจำมหาวิทยาลัย “วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุเส” ผู้สมบูรณ์ด้วยความรู้และความประพฤติ เป็นผู้ประเสริฐในหมู่เทพและมนุษย์

สีประจำมหาวิทยาลัย สีส้ม หมายถึง สีประจำพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งตรงกับวันพฤหัสบดี อันเป็นวันพระราชสมภพ

ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย ต้นโพธิ์ ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 

คติพจน์ประจำตัวนักศึกษา ระเบียบ สามัคคี บำเพ็ญประโยชน์

ตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย

ตราสัญลักษณ์
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

พระมหามงกุฏ  : หมายถึง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ พระผู้ทรงเป็นที่มาแห่งนาม “มหามกุฏราชวิทยาลัย”             

พระเกี้ยวประดิษฐานแบบหมอนรอง : หมายถึง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ซึ่งทรงเป็นผู้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งมหามกุฏราชวิทยาลัย และพระราชทานทรัพย์บำรุงปีละ ๖๐ ชั่ง

หนังสือ : หมายถึง คัมภีร์และตำราทางพระพุทธศาสนา โดยที่มหามกุฏราชวิทยาลัยจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นแหล่งผลิตคัมภีร์และตำราทางพระพุทธศานา สำหรับส่งเสริมการศึกษาและเผยแผ่พระพุทธศาสนา              

ปากกาปากไก่ ดินสอ และม้วนกระดาษ : หมายถึง อุปกรณ์ในการศึกษาเล่าเรียน ตลอดถึงอุปกรณ์ในการผลิตคัมภีร์และตำราทางพระพุทธศาสนา เพราะมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ทำหน้าที่เป็นทั้งสถานศึกษาและแหล่งผลิตตำราทางพระพุทธศาสนา            

ช่อดอกไม้แย้มกลีบ ในทางการศึกษา : หมายถึง ความเบ่งบานแห่งสติปัญญาและวิทยาความรู้ แต่ในทางพระศาสนาหมายถึง กิตติศัพท์ กิตติคุณ ที่ฟุ้งขจรไปดุจกลิ่นแห่งดอกไม้โดยมีความหมายรวม คือความเจริญรุ่งเรืองและเกียรติยศ อิสริยยศ บริวารยศ            

พานรองรับหนังสือหรือคัมภีร์ : หมายถึง มหามกุฏราชวิทยาลัยเป็นสถาบันเพื่อความมั่นคงและแพร่หลายของพระพุทธศาสนา ทั้งในด้านการศึกษาและการเผยแผ่            

วงรัศมี : หมายถึง ความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาที่บังเกิดขึ้นจากกิจกรรมของมหามกุฏราชวิทยาลัยภายใต้พระบรมราชูปถัมภ์ของพระมหากษัตริย์ไทย            

มหามกุฏราชวิทยาลัย : หมายถึง สถาบันการศึกษาระดับปริญญาตรี , โท , เอก ปัจจุบัน คือ “มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย”

เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Objectives / Targets)

  1. เป้าหมายเชิงปริมาณ (quantity)
    • นักศึกษาระดับปริญญาตรีเพิ่มขึ้นจากเดิม ร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 15 / ปี
    • นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 10/ปี
    • สัดส่วนจำนวนนักศึกษาระดับปริญญาตรีต่อระดับบัณฑิตศึกษาเท่ากับ 90 ต่อ 10 ในปีการศึกษา 2553
    • สัดส่วนจำนวนอาจารย์ต่อนักศึกษาเฉลี่ยเท่ากับ 1 ต่อ 25 ในปีการศึกษา 2553
    • ผลการเรียนของนักศึกษาที่รับเข้าศึกษาในแต่ละรุ่นไม่ต่ำกว่า 2.00 สำหรับระดับปริญญาตรี ไม่ต่ำกว่า 3.00 สำหรับระดับปริญญาโท และไม่ต่ำกว่า 3.25 สำหรับระดับปริญญาเอก
    • บัณฑิตได้งานทำหรือศึกษาต่อภายในระยะเวลา 3 เดือน หลังจากจบการศึกษาร้อยละ 80
    • นายจ้าง / ผู้ประกอบการ / ผู้ใช้บัณฑิต มีความพึงพอใจในระดับมาก – มากที่สุด ร้อยละ 80-100
    • จำนวนบทความจากวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกและโทที่ตีพิมพ์ในวารสารที่มีผู้ประเมินอิสระต่อจำนวนวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกและโท ร้อยละ 10 – 20 ของวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกและโททั้งหมด / ปี
    • อัตราส่วนจำนวนกิจกรรม / โครงการของงานกิจกรรมนักศึกษาทั้งหมด เท่ากับ 1 : 60-50
    • จำนวนอาจารย์ประจำทุกระดับที่มีวุฒิปริญญาเอกร้อยละ 15 – 30
    • สัดส่วนอาจารย์ประจำทุกระดับที่มีวุฒิปริญญาเอกต่อปริญญาโทเท่ากับ 30 – 70 สำหรับการสอนระดับปริญญาตรี และ 50 – 50 สำหรับบัณฑิตศึกษา
    • สัดส่วนตำแหน่งทางวิชาการ (ศ + รศ. + ผศ.) : อาจารย์ เท่ากับ 30 ต่อ 70 สำหรับการสอนระดับปริญญาตรี และ 50 ต่อ 50 สำหรับระดับบัณฑิตศึกษา
    • อัตราส่วนจำนวนคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเรียนการสอนต่อจำนวนนักศึกษา เท่ากับ 1: 20 – 10
    • จำนวนโครงการวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ 2 – 5 โครงการ / ปี
    • สัดส่วนจำนวนบทความวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่หรืองานสร้างสรรค์ประเภทตำรา หนังสือ หรือ เอกสารทางวิชาการต่อจำนวนอาจารย์ประจำทุกระดับเท่ากับ 1 เรื่อง : 10 รูป/คน
    • สัดส่วนจำนวนงานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อจำนวนอาจารย์ประจำทุกระดับเท่ากับ 1 เรื่อง ต่อ 20 รูป/คน
    • จำนวนเงินงบประมาณที่จัดสรรเพื่อการวิจัยในแต่ละปี ร้อยละ 5 ของงบดำเนินการทั้งหมด
    • จำนวนกิจกรรม / โครงการที่ให้บริการแก่สังคมหรือชุมชน 5 -10 กิจกรรม/โครงการต่อปี
    • จำนวนการได้รับนิมนต์/รับเชิญ ให้ไปเผยแผ่ธรรมะในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การแสดงธรรม การแสดงปาฐกถา การบรรยาย การสอน ฯลฯ ภายนอกมหาวิทยาลัยต่ออาจารย์ประจำทุกระดับ เท่ากับ 1 ครั้ง ต่อ 20 รูป/คน ในแต่ละปีการศึกษา
    • จำนวนกิจกรรมที่จัดร่วมกับชุมชนในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 5-7 กิจกรรม/ปี
    • จำนวนการจัดกิจกรรม/โครงการประกันคุณภาพภายในเกี่ยวกับระบบและกลไก 2 – 5 ครั้ง/ปี
    • จำนวนหน่วยงานย่อยที่ร่วมดำเนินงานประกันคุณภาพ ผ่านเกณฑ์ประเมินภายในร้อยละ 70 – 80
  2. เป้าหมายเชิงปริมาณ (quantity)
    • นักศึกษาระดับปริญญาตรีเพิ่มขึ้นจากเดิม ร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 15 / ปี
    • นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 10/ปี
    • สัดส่วนจำนวนนักศึกษาระดับปริญญาตรีต่อระดับบัณฑิตศึกษาเท่ากับ 90 ต่อ 10 ในปีการศึกษา 2553
    • สัดส่วนจำนวนอาจารย์ต่อนักศึกษาเฉลี่ยเท่ากับ 1 ต่อ 25 ในปีการศึกษา 2553
    • ผลการเรียนของนักศึกษาที่รับเข้าศึกษาในแต่ละรุ่นไม่ต่ำกว่า 2.00 สำหรับระดับปริญญาตรี ไม่ต่ำกว่า 3.00 สำหรับระดับปริญญาโท และไม่ต่ำกว่า 3.25 สำหรับระดับปริญญาเอก
    • บัณฑิตได้งานทำหรือศึกษาต่อภายในระยะเวลา 3 เดือน หลังจากจบการศึกษาร้อยละ 80
    • นายจ้าง / ผู้ประกอบการ / ผู้ใช้บัณฑิต มีความพึงพอใจในระดับมาก – มากที่สุด ร้อยละ 80-100
    • จำนวนบทความจากวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกและโทที่ตีพิมพ์ในวารสารที่มีผู้ประเมินอิสระต่อจำนวนวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกและโท ร้อยละ 10 – 20 ของวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกและโททั้งหมด / ปี
    • อัตราส่วนจำนวนกิจกรรม / โครงการของงานกิจกรรมนักศึกษาทั้งหมด เท่ากับ 1 : 60-50
    • จำนวนอาจารย์ประจำทุกระดับที่มีวุฒิปริญญาเอกร้อยละ 15 – 30
    • สัดส่วนอาจารย์ประจำทุกระดับที่มีวุฒิปริญญาเอกต่อปริญญาโทเท่ากับ 30 – 70 สำหรับการสอนระดับปริญญาตรี และ 50 – 50 สำหรับบัณฑิตศึกษา
    • สัดส่วนตำแหน่งทางวิชาการ (ศ + รศ. + ผศ.) : อาจารย์ เท่ากับ 30 ต่อ 70 สำหรับการสอนระดับปริญญาตรี และ 50 ต่อ 50 สำหรับระดับบัณฑิตศึกษา
    • อัตราส่วนจำนวนคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเรียนการสอนต่อจำนวนนักศึกษา เท่ากับ 1: 20 – 10
    • จำนวนโครงการวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ 2 – 5 โครงการ / ปี
    • สัดส่วนจำนวนบทความวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่หรืองานสร้างสรรค์ประเภทตำรา หนังสือ หรือ เอกสารทางวิชาการต่อจำนวนอาจารย์ประจำทุกระดับเท่ากับ 1 เรื่อง : 10 รูป/คน
    • สัดส่วนจำนวนงานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อจำนวนอาจารย์ประจำทุกระดับเท่ากับ 1 เรื่อง ต่อ 20 รูป/คน
    • จำนวนเงินงบประมาณที่จัดสรรเพื่อการวิจัยในแต่ละปี ร้อยละ 5 ของงบดำเนินการทั้งหมด
    • จำนวนกิจกรรม / โครงการที่ให้บริการแก่สังคมหรือชุมชน 5 -10 กิจกรรม/โครงการต่อปี
    • จำนวนการได้รับนิมนต์/รับเชิญ ให้ไปเผยแผ่ธรรมะในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การแสดงธรรม การแสดงปาฐกถา การบรรยาย การสอน ฯลฯ ภายนอกมหาวิทยาลัยต่ออาจารย์ประจำทุกระดับ เท่ากับ 1 ครั้ง ต่อ 20 รูป/คน ในแต่ละปีการศึกษา
    • จำนวนกิจกรรมที่จัดร่วมกับชุมชนในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 5-7 กิจกรรม/ปี
    • จำนวนการจัดกิจกรรม/โครงการประกันคุณภาพภายในเกี่ยวกับระบบและกลไก 2 – 5 ครั้ง/ปี
    • จำนวนหน่วยงานย่อยที่ร่วมดำเนินงานประกันคุณภาพ ผ่านเกณฑ์ประเมินภายในร้อยละ 70 – 802
  3. เป้าหมายเชิงคุณภาพ (quality)
    • มีการพัฒนาการเรียนการสอน โดยใช้ระบบการประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัยเป็นเครื่องมือ เพื่อให้ได้บัณฑิตที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ในปรัชญา
    • มีการจัดหลักสูตรที่เน้นทางด้านพระพุทธศาสนาเถรวาท และเน้นภาษาบาลีเชิงลึกเพื่อการศึกษาวิจัยทางด้านพระพุทธศาสนา
    • มีการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และส่งเสริมการสร้างประสบการณ์จริง
    • มีการเน้นพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ทางด้านการใช้ภาษาอังกฤษและสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและศิลปวัฒนธรรมของชาติ
    • การเรียนการสอนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ รวมถึงรูปแบบปกติ(ระบบเข้าห้องเรียน) การศึกษาทางไกลและรูปแบบอื่นที่เปิดโอกาสทางการศึกษาแก่มวลชน ให้สามารถเข้าถึงได้ (Accessibility)
    • เป็นการให้บริการแก่มวลชน รวมตลอดถึงผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษาและสามารถตอบสนองความต้องการของสังคม (ไม่เพียงแต่ตลาดแรงงาน)
    • การมีความเป็นเลิศทางวิชาการพระพุทธศาสนาเถรวาทในระดับชาติและนานาชาติ
    • สภามหาวิทยาลัย สภาวิชาการ คณะกรรมการบริหารงานบุคคล คณะกรรมการการเงินและทรัพย์สิน คณะกรรมการวิทยาเขต ฯลฯ จะต้องให้ทั้งบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้อง (Stakeholders) และส่วนต่าง ๆ ของประชาคมมหาวิทยาลัยมีส่วนร่วมตัดสินใจอนาคตของมหาวิทยาลัย
    • การบริหารจัดการเป็นแบบเครือข่าย (Networking) ร่วมมือประสานกับมหาวิทยาลัยและสถาบันต่าง ๆ ทั้งภายในและต่างประเทศ ขณะเดียวกันมุ่งสร้างพันธมิตร และระดมทรัพยากรจากภายนอก (Outsourcing)
    • คำนึงถึงความคุ้มค่า ประสิทธิภาพ และสัมฤทธิผลในการบริหารจัดการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลผลิตและผลลัพธ์

ยุทธศาสตร์ / กลยุทธ์ (Strategics)

  1. ด้านการผลิตบัณฑิต
    • ปรับกระบวนการผลิตบัณฑิตโดยใช้ระบบและกลไกประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัยเป็นเครื่องมือ
    • ทบทวนการจัดการเรียนการสอน วิธีการเรียนการสอน บรรณสาร เทคโนโลยีการศึกษา อุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวก รวมทั้งการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้
    • จัดกระบวนการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่ต้องการให้เกิดการปฏิรูป กล่าวคือ กระบวนการเรียนการสอนตามหลักสูตรและคำนึงถึงความแตกต่างเฉพาะบุคคลโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เช่น การจัดให้มีจำนวนหน่วยกิต/ชั่วโมงเรียนหรือรายวิชาในภาคปฏิบัติ การจัดให้มีจำนวนหน่วยกิต/ชั่วโมงเรียนหรือรายวิชาในภาคสนาม การเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของเนื้อหาหรือรายวิชาที่เปิดสอน การเปิดโอกาสให้นักศึกษาใช้ห้องคอมพิวเตอร์/ห้องสมุดต่อวัน ฯลฯ
    • จัดการเรียนการสอน โดยให้ความสำคัญกับภาษาบาลีในฐานะภาษาที่ใช้จารึกพระพุทธวจนะเพิ่มมากขึ้น เพิ่มจำนวนหน่วยกิต เพิ่มชั่วโมงเรียน
    • เร่งขยายหลักสูตรสาขาวิชาภาษาบาลีและพระพุทธศาสนาในระดับสูง คือ ระดับมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต เพื่อการวิจัยพระพุทธศาสนาในเชิงลึก ซึ่งจะทำให้มหาวิทยาลัยมีโอกาสพัฒนาไปสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการพระพุทธศาสนาตามปรัชญาของมหาวิทยาลัยได้
    • เร่งพัฒนาระบบฐานข้อมูลและการให้บริการด้านต่าง ๆ เช่น ด้านงานทะเบียน งานวัดประเมินผล การสืบค้นข้อมูลวิจัย เป็นต้น โดยเพิ่มศักยภาพซอฟแวร์คอมพิวเตอร์ให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และได้อย่างกว้างขวาง เป็นระบบเครือข่ายข้อมูลทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค สามารถสืบค้นและเชื่อมโยงกันได้
    • เร่งพัฒนาบุคลากรด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย ให้สามารถใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เทคโนโลยีสารสนเทศ สื่อผสม สื่อการสอนทางไกล ฯลฯ ตลอดจนการใช้บุคลากรจากภายนอกที่มีคุณภาพ ( Outsourcing)
    • เร่งพัฒนาอาจารย์ให้มีคุณวุฒิและตำแหน่งทางวิชาการเพิ่มขึ้น
  2. ด้านการบริการวิชาการพระพุทธศาสนาแก่สังคม
    • เร่งขยายการบริการวิชาการพระพุทธศาสนาแก่ชุมชน และท้องถิ่นแบบเชิงรุกให้กว้างขวาง
    • ให้การสนับสนุน หรือร่วมมือกับคณะสงฆ์ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กร / ชุมชน และครอบครัว ในด้านวิทยากร และวิชาการทางพระพุทธศาสนาเพื่อแก้และป้องกันปัญหาทางสังคม เช่น โรคติดต่อร้ายแรง และสารเสพย์ติดให้โทษ เป็นต้น
    • จัดโครงการประชุม / อบรม / สัมมนา ร่วมกับคณะสงฆ์ เพื่อสร้างความเข้าใจในการพัฒนาสังคมร่วมกัน
    • เน้นบทบาทในการแก้ปัญหาด้านจิตใจแก่สังคม เช่น การให้คำเตือน แนวคิด และข้อเสนอแนะ เป็นต้น เพื่อลดปัญหาทางสังคมอื่น ๆ ที่จะตามมา
    • จัดประชุมสัมมนาให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไป
    • เร่งรัดการใช้ ICT เพื่อช่วยเสริมสร้างสังคมฐานความรู้ให้หลากหลาย
    • ใช้ ICT เพื่อขยายฐานความรู้ด้านพระพุทธศาสนาเถรวาทสู่สังคมนานาชาติ
  3. ด้านการวิจัย
    • จัดระบบวิจัยที่เน้นการวิจัยทางด้านพระพุทธศาสนาในลักษณะโครงการร่วมระหว่างหน่วยงานมหาวิทยาลัย รวมทั้งองค์กรต่าง ๆ ภายนอกมหาวิทยาลัย
    • พิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยในวงกว้าง โดยเฉพาะในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติ
    • ส่งเสริมให้มีการนำผลงานวิจัยไปใช้เพื่อช่วยพัฒนาสถาบัน สังคม และหรือ ประเทศชาติ
    • สนับสนุนให้วิทยาเขตต่าง ๆ และศูนย์การศึกษาของมหาวิทยาลัย ประสานงานกับสถาบันการศึกษา และผู้ทรงคุณวุฒิด้านภาษาและพระพุทธศาสนาเพื่อศึกษาวิจัยคัมภีร์ที่มีอยู่ในท้องถิ่น
    • ให้วิทยาเขตและศูนย์การศึกษาต่าง ๆ เน้นเสนอโครงการวิจัยที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาด้านวัตถุโบราณในท้องถิ่น ประเภทศิลาจารึก คัมภีร์ใบลาน สมุดไทย เป็นต้น
  4. ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
    • รณรงค์ให้ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น และพระสังฆาธิการมีความรู้ความเข้าใจในศิลปวัฒนธรรมของชุมชนและท้องถิ่น
    • ประสานความร่วมมือกับคณะสงฆ์หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านศิลปวัฒนธรรมโดยจัดหลักสูตรระยะสั้น และพัฒนาระบบการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม และการอนุรักษ์ฟื้นฟูแก่ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่นและพระสังฆาธิการ
    • สนับสนุนและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ฟื้นฟูประเพณีพื้นบ้าน กีฬาพื้นบ้าน และภูมิปัญญาท้องถิ่น
    • แนะนำให้ความรู้แก่ชุมชนเกี่ยวกับวัฒนธรรมที่ไม่เหมาะสม การคัดสรรและการประยุกต์วัฒนธรรมจากภายนอกที่จำเป็นต้องยอมรับ
  5. ด้านการบริหารจัดการ
    • ปรับโครงสร้าง ปรับรื้อระบบและกลไกการบริหารงาน และปรับกระบวนการบริหารจัดการ ให้มีความสะดวก มีประสิทธิภาพ และมีความรวดเร็ว
    • ปรับปรุงระเบียบและข้อบังคับ การบริหารงานที่เหมาะสม เช่น การบริหารงบประมาณ การบริหารบุคลากร การบริหารวิชาการ ระบบตรวจสอบภายในและอาคารสถานที่ที่ยังไม่เอื้ออำนวยต่อการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบต่าง ๆ อย่างเหมาะสม
    • เร่งพัฒนาด้านการบริหารจัดการโดยเฉพาะการบริหารการเงิน ที่เป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่ามหาวิทยาลัยมีความจำเป็นจะต้องพิจารณาทบทวนโดยเทียบเคียงกับสถาบันอุดมศึกษาของคฤหัสถ์ที่บริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ และควรต้องมี “มืออาชีพ”
    • เร่งพัฒนาวิธีประกันมาตรฐานการศึกษาระหว่างส่วนกลางกับวิทยาเขตและระหว่างวิทยาเขตกับศูนย์การศึกษา
    • ให้ผู้แทนจากวิทยาเขตเป็นกรรมการหรือมีส่วนร่วมในการจัดสรรงบประมาณประจำปี
    • บริหารจัดการโดยยึดแผนยุทธศาสตร์ / แผนบริหารจัดการระยะ กลางของสถาบัน เพื่อควบคุมการบริหารจัดการให้คุ้มทุนและมีประสิทธิภาพ
    • หามาตรการลดปัญหาเรื่องการประสานงานหรือการสื่อสารระหว่างส่วนกลางกับวิทยาเขตและระหว่างวิทยาเขตด้วยกัน
    • พัฒนาและควบคุมสัดส่วนอาจารย์ประจำ(รวมอาจารย์พิเศษและพิเศษประจำ)ต่อนักศึกษาให้ได้เท่ากับ 1 ต่อ 25 (ปัจจุบันประมาณ 1 : 10 ) ภายในปี 2553
    • จัดลำดับความสำคัญของพันธกิจของมหาวิทยาลัย คือ 1. การผลิตบัณฑิต 2. การบริการวิชาการทางพระพุทธศาสนาแก่สังคม 3. การวิจัย 4. การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และจัดสรรงบประมาณตามลำดับความสำคัญของพันธกิจดังกล่าว
    • เร่งนำผลการประเมินทั้งจากภายในและภายนอกมาใช้ในการบริหารจัดการและการจัดสรรงบประมาณ เพื่อสร้างกระบวนการพัฒนาที่เป็นธรรมและยกระดับคุณภาพของมหาวิทยาลัยสู่ระดับมาตรฐานสาก
1,720 Views